ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ
การขับเคลื่อนให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ สค. ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) เป้าประสงค์
(1) สตรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
(2) สตรีได้รับการพัฒนาศักยภาพและ ทักษะที่เหมาะสม
(3) สตรีอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความมั่นคงปลอดภัย
2) แนวทางการพัฒนา
(1) เสริมพลัง เพิ่มบทบาท และพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่สตรีไทยทุกกลุ่ม และทุกระดับโดยพัฒนาศักยภาพและทักษะให้มีระดับการศึกษา ทักษะ และความรู้ที่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพที่มั่นคง สร้างความมั่นคงและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มเป้าหมายสตรี ส่งเสริมให้สตรีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม พัฒนาศักยภาพสตรีเพื่อส่งเสริมให้สตรีมีส่วนร่วมในทางการเมืองและกระบวนการตัดสินใจในระดับชาติและท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาสุขภาพ สุขภาวะ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อกลุ่มเป้าหมายสตรีทุกกลุ่มทุกวัยจะมีความตระหนักรู้ในการรักษาสุขภาพ และมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตอย่างสมดุล
(2) กำหนดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ และเยียวยา โดยการลดและขจัดความรุนแรงต่อสตรี ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมทุกรูปแบบ ส่งเสริมและจัดการศึกษาวิจัย และสร้างองค์ความรู้เพื่อลดความรุนแรง และการพิทักษ์สิทธิ ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของกลุ่มสตรีที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน และป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มเป้าหมายสตรีที่ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนการก้าวสู่ สังคมสูงอายุ อย่างมีศักยภาพ มีคุณภาพ และมีศักดิ์ศรี
(3) สร้างความเข้มแข็งของกลไกและกระบวนการพัฒนาสตรีโดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการพัฒนาสตรีทุกระดับ ทั้งระดับชาติ ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาภาคเอกชน และภาคประชาสังคม พัฒนาสตรีของหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และกลไกสตรีระดับต่าง ๆ ให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงาน จัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการด าเนินงานขององค์กรและกลไกสตรีระดับต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากลไกที่มีความเข้มแข็งในอนาคตวางแนวทางและส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายขององค์กรและกลไกการพัฒนาสตรีให้สามารถทำงานร่วมกันทั้งระหว่างองค์กรสตรีและองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) เป้าประสงค์
(1) ครอบครัวมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
(2) ครอบครัวที่มีการกระทำความรุนแรงได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือ
(3) เครือข่ายทางสังคมมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านสตรีและครอบครัว
2) แนวทางการพัฒนา
(1) พัฒนาศักยภาพครอบครัวในการสร้างและพัฒนาคนให้มีทักษะและความรอบรู้สอดรับกับศตวรรษที่ 21 สามารถวางแผนชีวิตครอบครัวและทำบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม โดยผลักดันนโยบาย/มาตรการต่าง ๆ สนับสนุนครอบครัวให้สามารถเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตเต็มศักยภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมพร้อมกับมีทักษะทางสังคม ทักษะการคิดวิเคราะห์และสามารถแก้ไขปัญหา ทักษะการสื่อสาร ทักษะการปรับตัวและยืดหยุ่น การมีความคิดสร้างสรรค์และภาวะผู้นำ และการมีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองโลกและพลเมืองดิจิทัล และมีความเข้าใจในพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมศักยภาพของสมาชิกในครอบครัวอย่างเหมาะสม
(2) ส่งเสริมให้มีนโยบายมาตรการเพื่อส่งเสริมครอบครัวคุณภาพ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถดูแลสมาชิกในครอบครัวในแต่ละช่วงวัยอื่นได้อย่างมีคุณภาพ ไม่กระทบต่อรายได้และการจ้างงาน สามารถประนีประนอมสัมพันธภาพของสมาชิกครอบครัวระหว่างรุ่น รวมถึงมีการจัดระบบสนับสนุนครอบครัวอื่น ๆ ซึ่งจะต้องคนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศในการทำบทบาทหน้าที่ในครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน และรูปแบบครอบครัวที่หลากหลาย อาทิ ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวข้ามรุ่น ครอบครัวผู้สูงอายุอยู่ด้วยกันลำพัง ครอบครัวคู่รักเพศเดียวกัน ครอบครัวผสม และครอบครัววัยรุ่น เป็นต้น
(3) การจัดทำฐานข้อมูลกลางของบุคคลและครอบครัว และนำระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ เพื่อการจัดสวัสดิการและสร้างหลักประกันทางสังคมของทุกภาคส่วน อาทิ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางสวัสดิการสังคมที่เชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาคีพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะระดับครัวเรือนและชุมชน เพื่อนำไปสู่การยกระดับการคุ้มครองทางสังคมและหลักประกันทางสังคม ตลอดจนการนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
(4) การส่งเสริมให้มีกลไกเชื่อมโยงกับนโยบายและการบริหารจัดการในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งการมีระบบการสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการสร้างภาคีเครือข่ายในระดับอำเภอ ตำบล และชุมชน เพื่อสนับสนุนการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อการพัฒนาและมีพื้นที่สาธารณะเพื่อปรึกษาหารือปัญหาสาธารณะของพื้นที
1) เป้าประสงค์
(1) คนไทยทุกเพศ ทุกวัยมีเจตคติที่ดีด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ
(2) กลไกด้านความเสมอภาคระหว่างเพศมีความเข้มแข็ง
(3) ขจัดการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ
2) แนวทางการพัฒนา
(1) ปรับเปลี่ยนเจตคติของสังคมในประเด็นเท่าเทียมกันระหว่างเพศ โดยเน้นที่การปรับเจตคติของคนไทยโดยรวมให้มีค่านิยมด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ มีความเป็นธรรมและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สร้างเครือข่ายพันธมิตรกับสื่อแขนงต่าง ๆ เพื่อร่วมรณรงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสตรีและการรณรงค์สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมความเสมอภาคระหว่างเพศ ปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม และปรับเจตคติสำหรับเด็กและเยาวชน และกำหนดมาตรการในการวัดระดับความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนเจตคติของสังคมอย่างต่อเนื่อง
(2) พัฒนาเงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสตรีที่มีประสิทธิผลและเสมอภาค โดยพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสตรี และก าหนดเงื่อนไขการพัฒนาสตรี
1) เป้าประสงค์
องค์กรมีประสิทธิภาพมีระบบธรรมาภิบาล
2) แนวทางการพัฒนา
(1) จัดทำแผนบริหารจัดการกำลังคน เตรียมความพร้อมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในทุกสายงานทุกระดับ โดยวิเคราะห์และกำหนดตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาองค์กร การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาการอบรมภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการทำงาน
(2) ทบทวนและวิเคราะห์ภารกิจหลักที่สำคัญ จำเป็น และมีความคุ้มค่าที่ต้องดำเนินการทั้งในปัจจุบัน รวมถึงภารกิจใหม่ที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในอนาคต และภารกิจบริการทางสังคมที่ท้องถิ่นและภาคเอกชนมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้เอง รวมถึงจัดทำแผนการถ่ายโอนภารกิจในแต่ละช่วงเวลา
(3) ปฏิรูปองค์กรให้มีความเหมาะสมกับภารกิจ โดยปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น
(4) จัดทำและเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านสังคมให้ทันสมัยและสากล เป็นที่ยอมรับในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ โดยครอบคลุมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย แนวโน้ม สถานการณ์ทางสังคม และเชื่อมโยงกับข้อมูลและสารสนเทศในระดับชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
เอกสารดาวน์โหลด
- ยุทธศาสตร์ สค 20 ปี (60-79) และ 5 ปี (60-64)
- แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ผลจาก Covid-19) ปี 64-65
- แผนปฏิบัติราชการรายปี สค. พ.ศ.2564_(18 ม.ค. 64)
- แผนปฏิบัติการด้านครอบครัว ปี 63-65 (ณ เม.ย.63)
- แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสตรี ปี 63-65 (ณ 2 ก.ค. 63)
- แผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติตามภารกิจ สค 20 ปี (60-79)
- นโยบายขับเคลื่อนงาน 2565 (17 ก.ย. 64)_อธิบดี สค-รมว.พม.