การส่งเสริมด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
เป็นภารกิจในการจัดสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ในด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพการจัดบริการทางสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไขปัญหาการพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงของผู้ใช้บริการ เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของผู้ใช้บริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสม เป็นธรรม และให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและการมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรม และบริการทางสังคมทั่วไป โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิที่มนุษย์พึงจะต้องได้รับ และการทำงานร่วมกับองค์กรเครือข่ายทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสภาคใต้ NGO ภาคเอกชน ภาคประชาชน หรือ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- การส่งเสริมให้บริการเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง
ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ จังหวัดสงขลา มีหน้าที่ให้บริการฝึกอบรมแก่ผู้ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา มีฐานะยากจนและผู้ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประสงค์ฝึกอบรมอาชีพ
ตามความถนัดในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งภายในและภายนอกศูนย์ฯ ด้วยหลักการสังคมสงเคราะห์ และให้บริการ
เงินอุดหนุน เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง เพื่อให้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ เป็นค่าครองชีพในการดำรงชีวิตในเบื้องต้น เช่น เงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว
ขาดแคลน เงินสงเคราะห์เดินทางกลับภูมิลำเนา เป็นต้น
- 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ
การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการเป็นการเสริมสร้างทักษะชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มเยาวสตรี เพื่อให้สามารถมีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมตามสถานการณ์ของสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความรู้ เอาตัวรอดจากภัยสังคม ให้มั่นคง และมีความสุขในการใช้ชีวิต ซึ่งเน้นกิจกรรมให้ความรู้ด้านสิทธิและการใช้ชีวิตอยู่อย่างเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในสังคม และสถานการณ์ และนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ แก่ผู้รับการฝึกอาชีพในศูนย์ฯ เพื่อป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และการถูกเอารัดเอาเปรียบ และการประกอบอาชีพในอนาคต
นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังได้มีการดำเนินการป้องกันและคุ้มครองสวัสดิภาพด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น
- การดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังการตกเป็นเหยื่อของการค้าเด็กและหญิง ภายใต้มาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่สตรีในศูนย์ฯ
- การดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องด้วยการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม การคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ และป้องกันปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ความรุนแรงในครอบครัวและปัญหาการค้ามนุษย์ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และการป้องกันตนเองจากภัยสังคมและยาเสพติด
- การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ ไม่พร้อมในวัยรุ่น ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ให้เครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหา รวมทั้งให้แกนนำเด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ช่วยกระจายความรู้ไปสู่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนในวงกว้างขึ้น และเป็นการชักจูงให้แกนนำกล้าแสดงออกถึงความคิดเห็น การเห็นความสำคัญของปัญหา และวิธีที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ตลอดจนส่งเสริมกลไกในการป้องกันปัญหาดังกล่าวในโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง
- การดำเนินการแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการตามกระบวนการจัดการรายกรณี Case Management 5 กระบวนการ ดังนี้
1) การสอบข้อเท็จจริง (Fact – finding)
2) การประเมินสภาวะ (Assessment)
3) การวางแผนบริการ (Care Planning / Service Planning)
4) การดำเนินการให้การช่วยเหลือ (Implementation / Treatment)
5) ติดตาม / ประเมินซ้ำและยุติการบริการ (Monitoring/Reassessment and Disengagement)
3. การส่งเสริมสวัสดิการด้านการศึกษา นอกจากการให้บริการด้านฝึกทักษะอาชีพแล้วศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ จังหวัดสงขลา ยังได้คำนึงถึงความสำคัญของการศึกษาพื้นฐานแก่ผู้ด้อยโอกาส จึงมีความประสงค์ให้ผู้เรียนที่มาฝึกอบรมวิชาชีพของศูนย์เรียนรู้ฯ ได้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างช่วงที่เรียนฝึกอาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาให้แก่นักเรียนได้มีความรู้และประสบการณ์ในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี จึงได้ประสานความร่วมมือไปที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัตภูมิ และเริ่มเปิดให้มีการเรียน กศน. ขึ้นที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ตั้งแต่รุ่นที่ 54 ปี 2561 เป็นต้นมา